ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ ไม่หายสักที ไปนวดก็แล้วออกกำลังกายก็แล้วแต่ชีวิตทำงานมันบังคับให้เราต้องนั่งอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็นั่งอยู่ท่าเดิมไปหลายชั่วโมงแล้ว ไม่แปลกเลยที่จะทำให้เราเริ่มมีอาการของออฟฟิศซินโดรม และหลาย ๆ คนก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมได้เพราะถ้าเลิกทำงานเราจะเอาอะไรกินล่ะ วันนี้พี่สาวจึงอยากชวนเพื่อน ๆ ทำความรู้จักกับออฟฟิศซินโดรมคืออะไร และเราจะมีวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อทำให้อาการของออฟฟิศซินโดรมนั้นแวะเวียนมาหาเราน้อยครั้งที่สุด และเจ็บน้อยที่สุดได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ
ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร
“ออฟฟิศซินโดรม” หรือ “Office Syndrome” เป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายกลุ่มของอาการที่เกิดขึ้นบ่อยในผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องทำงานโดยอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ตลอดเวลา อาการนี้ส่วนใหญ่มีการเกี่ยวข้องกับท่าทางการนั่งที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดการเมื่อยกล้ามเนื้อในบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ข้อมือ หรือนิ้วมือ รวมทั้งอาการปวดศีรษะ
สาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม
ท่านั่งไม่ถูกต้อง การนั่งที่ไม่ถูกต้องสามารถทำให้เกิดการเมื่อยกล้ามเนื้อในบริเวณคอ ไหล่ และหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการพัก
การใช้คอมพิวเตอร์ การทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกขึ้นเดินเลย รวมทั้งตำแหน่งของคีย์บอร์ดและเมาส์ที่ไม่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้
การใช้อุปกรณ์มือถือ การใช้สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์มือถือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เป็นอีกสาเหตุทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม
ขาดการออกกำลังกาย การขาดการออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและไม่แข็งแรง เมื่อกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงประกอบกับการถูกใช้งานอย่างหนักจากท่านั่งที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดที่กล้ามเนื้อนั้น ๆ ตามมา
สภาพแวดล้อมทำงาน สภาพแวดล้อมของการทำงานที่ไม่ได้รับการปรับตามหลักกายศาสตร์ (ergonomics) ที่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม เช่น เก้าอี้หรือโต๊ะทำงานที่มีความสูงไม่เหมาะสมทำให้เวลาเรามองจอคอมพิวเตอร์ต้องก้มหัวลงมา ส่งผลทำให้เราปวดกล้ามเนื้อคอ
อาการของคนที่เป็นออฟฟิศซินโดรม

- อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณหลัง คอ บ่า ไหล่ ลักษณะของอาการเจ็บเป็นได้ทั้งเจ็บแบบเต้นตุบ ๆ ตึงแน่น ติดขัด
- คลำพบ Trigger Point หรือก้อนนูนในกล้ามเนื้อ เมื่อจับบริเวณก้อนนี้จะรู้สึกเจ็บ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงในบริเวณที่มีปัญหา
- มีอาการปวดหัว ตาพร่ามัว
- ความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีทีท่าว่าจะหายสักที
- นอนหลับไม่สนิทหรือมีปัญหาในการนอนหลับ
- มีความเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
- มีอาการเหนื่อยตลอดเวลา
ตามไปอ่านอาการและพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เป็นออฟฟิศซินโดรมได้ในบทความนี้เลย รู้เท่าทัน 8 สัญญาณอาการออฟฟิศซินโดรม
การรักษาออฟฟิศซินโดรม
การรักษาออฟฟิศซินโดรมต้องอาศัยการดูแลจัดการอย่างรอบด้าน ทั้งการเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมและการดูแลจากหมอและนักกายภาพบำบัด แต่อย่างไรก็ตามเพื่อน ๆ สามารถเริ่มดูแลรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยวิธีการดังนี้
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการปรับท่านั่งและเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
- ปรับท่านั่งในที่ทำงานให้ถูกต้อง โดยเลือกใช้เก้าอี้ที่รองรับร่างกายของเราได้อย่างเหมาะสม
- ทำการยืนหรือเปลี่ยนท่านั่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการกดทับบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ควรนั่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรพักเบรกเดินไปดื่มน้ำ เดินไปผ่อนคลายระหว่างการทำงานบ้าง

การเลือกอุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้องตามหลักกายศาสตร์ (ergonomics)
- ใช้อุปกรณ์ที่รองรับสรีระของร่างกายของเรา เช่น คีย์บอร์ดและเมาส์ที่มีดีไซน์ที่ดี โต๊ะทำงานแบบปรับระดับได้เพื่อทำให้เราเปลี่ยนจากการนั่งทำงานเป็นการยืน
- เปลี่ยนจากการใช้การพิมพ์บนคีย์บอร์ดเป็นการพูดใส่ไมค์ ซึ่งหลาย ๆ โปรแกรมสามารถทำแบบนี้ได้แล้ว เช่น Google Doc มีฟังก์ชั่น Voice Typing
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการออกกำลังกาย
ทำการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและลดความตึงเครียด เช่น การยืดตัว การเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายทั่วไป ท่าออกกำลังกายที่แนะนำให้ทำระหว่างการทำงานเพื่อช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ทำตามได้ง่าย ๆ ตามนี้เลย

ท่ายืดคอ หันศีรษะไปทางด้านซ้ายและขวาอย่างเบา ๆ และคงไว้เป็นเวลา 15-30 วินาที ทำทั้งสองข้าง
ท่ายืดไหล่และหลังด้วยท่านกอินทรีย์ ยืดแขนขึ้นทางด้านหน้าแล้วนำข้อศอกขวามาทับข้อศอกซ้ายจะรู้สึกตึงบริเวณหัวไหล่และหลัง จากนั้นทำสลับกันไปโดยนำข้อศอกซ้ายมาทับข้อศอกขวา ค้างไว้ 15-30 วินาที
ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนและข้อมือ ยืนขึ้น ชูแขนทั้งสองข้างขึ้นด้านบนและประสานมือกัน
ท่ายืดขาและสะโพก ยืนตรง ก้มตัวลงเพื่อให้มือแตะที่ปลายเท้าจะรู้สึกตึง ๆ บริเวณก้นและกล้ามเนื้อขาด้านหลัง
ท่ายืดนิ้วมือ ยกแขนขึ้น ค่อย ๆ กางนิ้วมื้อทั้งสองออก ค่อย ๆ งอมือที่ข้อของแต่ละนิ้ว
การออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายแบบไหนก็ตาม ดีต่อร่างกายของเราทั้งนั้นควรแบ่งเวลาประจำวันของเราออกไปเดินเบา ๆ การทำโยคะ ยกเวท ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานบ้าง การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์โดยการนำการออกกำลังกายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันช่วยป้องการการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้อย่างยั่งยืน
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการทำกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาออฟฟิศซินโดรม นักกายภาพบำบัดสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนั่งที่ถูกต้อง การปรับเปลี่ยนท่านั่งเป็นประจำ และการออกกำลังกายที่เหมาะสม นอกจากนี้นักกายภาพบำบัดยังสามารถให้เคล็ดลับเกี่ยวกับการใช้เทคนิคการหายใจและการผ่อนคลายเพื่อลดความเครียดได้อีกด้วย
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการนวด
การนวดสามารถเป็นอีกหนึ่งที่ช่วยลดความเครียดและความตึงเครียดในกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถช่วยในการบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมได้ การนวดมักจะมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ที่มีความตึงหรือบริเวณกล้ามเนื้อที่มีปัญหา นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการฝังเข็ม

การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการฝังเข็ม (acupuncture) เป็นวิธีการทางการแพทย์ที่มีต้นกำเนิดจากแผนจีนและได้รับการยอมรับในทางการแพทย์ทั่วโลก การศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าการฝังเข็มสามารถกระตุ้นการปลดปล่อยสารสารเคมีที่มีผลต่อการลดความรู้สึกเจ็บปวดและกระตุ้นการไหลเวียนของพลังงานในร่างกาย
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการนวดจัดกระดูก
การนวดจัดกระดูกสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาออฟฟิศซินโดรมได้ แต่ควรทำโดยนักจัดกระดูกที่มีความชำนาญในการให้บริการนวดแบบนี้ การนวดจัดกระดูกมุ่งเน้นการปรับตำแหน่งของกระดูกและกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงเครียดและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและของน้ำหล่อเลี้ยงในพื้นที่ที่ทำการรักษา
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า

การกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) ใช้รักษาได้ทั้งอาการปวดเฉียบพลันและปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และระบบประสาท สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำการรักษา อย่างไรก็ตามควรได้รับการรักษาในแนวทางอื่นร่วมด้วยเช่น การทำกายภาพบำบัด และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยช็อคเวฟ

Shockwave Therapy เป็นทางเลือกในการรักษาออฟฟิศซินโดรมโดยใช้คลื่นกระแทกที่มีความเร็วสูงเพื่อกระตุ้นการบำบัดและฟื้นฟู คลื่นกระแทกจะทำปฏิกิริยากับกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ระงับความเจ็บปวดและฟื้นฟูการเคลื่อนไหว คลื่นกระแทกช็อคเวฟเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการรักษาอาการเรื้อรัง กึ่งเฉียบพลัน และเฉียบพลัน การกระตุ้นนี้เน้นไปที่บริเวณที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อและลดอาการตึงในกล้ามเนื้อบริเวณนั้น
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการเผายา
การเผายาเป็นการรักษาออฟฟิศซินโดรมทางเลือกด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยมีหลักการว่าบริเวณที่มีอาการปวดมีสาเหตุอันเนื่องมาจากมีการคั่งของธาตุลมอยู่ ซึ่งการเผายาจะเป็นการเพิ่มธาตุไฟเพื่อให้ลมที่คั่งอยู่เกิดการกระจายตัวอย่างสมดุล อ่านรีวิว Inter Wellness Clinic รีวิวเผายา ทางเลือกรักษาออฟฟิศซินโดรม
ไหนใครอ่านออฟฟิศซินโดรมบทความนี้แล้วรู้ตัวทันทีว่าอาการที่เราเป็นอยู่นั้นเข้าข่ายโรค office syndrome แล้วบ้าง ใครที่รู้ตัวว่าตัวเองมีปัญหาถือเป็นการเริ่มต้นก้าวแรกที่ดีค่ะ ลองค้นหาต่อไปอีกนิดนึงนะคะว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เรามีปัญหาปวดกล้ามเนื้อ ลองหาทางรักษาทางเลือกและปรับพฤติกรรมดูค่ะ หากอาการที่เป็นอยู่รบกวนการใช้ชีวิตมาก ๆ แนะนำว่าลองไปตรวจกับคุณหมอก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่อยากให้พิจารณานะคะ

หากใครสนใจบริการจาก คลินิกแพทย์ทางเลือก ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น บริการ รักษาออฟฟิซซินโดรม กัวซาหน้า แพทย์แผนไทย ฝังเข็ม ครอบแก้ว กายภาพบำบัด แก้ไมเกรน เลือกดูโปรโมชั่นที่ GoWabi ได้เลยค่า!