เฮ้ย!! ทำไมฟันของเรามันใสแบบนี้เนี่ย ใสจนจะมองเห็นลิ้นข้างในได้แล้ว ที่น่าตกใจไปกว่านั้นทำไมเราเพิ่งมาสังเกตเห็นกันละเนี่ย มันเกิดขึ้นนานหรือยัง แล้วอาการฟันใสขึ้นมันอันตรายหรือเปล่า ฟันใส เกิดจากอะไร 6 สาเหตุที่ทำให้ฟันใสขึ้นมีอะไรบ้าง GoWabi ชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับสุขภาพช่องปากของตัวเองให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลยค่ะ
ฟันใสเกิดจากอะไร
หากเราพบว่าฟันของเราใสขึ้นนั่นแปลว่าชั้นเคลือบฟันของเราเกิดความเสียหาย ชั้นเคลือบฟัน (enamel) คือชั้นที่อยู่ด้านนอกที่สุด มีความแข็งที่สุด ทำหน้าที่คอยปกป้องชั้นเนื้อฟันและโพรงประสาทฟันด้านในของฟัน เมื่อชั้นเคลือบฟันถูกทำลายลงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามฟันจะมีลักษณะใสขึ้น
อยากรู้ว่าฟันของเรามีโครงสร้างและทำหน้าที่อะไร อ่านเพิ่มได้ที่บทความนี้เลยจ้า นอกจากเคี้ยวอาหารแล้วหน้าที่ของฟันมีอะไรอีกบ้าง?
การสูญเสียชั้นเคลือบฟันเป็นการสูญเสียแบบถาวร เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถทำให้ชั้นเคลือบฟันกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ เพราะฉะนั้นการดูแลฟันที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียชั้นเคลือบฟันตั้งแต่แรก ว่าแต่สาเหตุที่ทำให้ชั้นเคลือบฟันถูกทำลายมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
6 สาเหตุที่ทำให้ฟันใสขึ้น (ชั้นเคลือบฟันถูกทำลาย)
1.รับประทานอาหารที่มีความเป็นกรด
การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูงอย่างเป็นประจำ ทำให้ชั้นเคลือบฟันถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ฟันดูใสขึ้น ตัวอย่างอาหารที่มีความเป็นกรดสูงได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม กาแฟ เครื่องดื่มผสมโซดา ลูกอม ถ้าใครไม่อยากให้ชั้นเคลือบฟันถูกทำลายก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกนี้น้าา
2.กรดไหลย้อน
การที่กรดไหลย้อนบ่อย ๆ จะทำให้กรดในกระเพาะอาหารกลับเข้ามาสู่บริเวณช่องปาก กรดจากกระเพาะอาหารมีฤทธิ์ทำลายชั้นเคลือบฟัน ถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากจะทำให้มีอาการของโรคอื่น ๆ แทรกซ้อน ทำให้การใช้ชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบากยิ่งขึ้นยังทำให้ชั้นเคลือบฟันถูกทำลายอย่างต่อเนื่องจนทำให้ฟันมีลักษณะใสขึ้นและอาจเกิดปัญหาฟันผุตามมาได้
3.อาเจียนบ่อย ๆ
คนที่มีปัญหาอาเจียนบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น บูลิเมีย (ภาวะความผิดปกติของการรับประทานอาหาร โดยการรับประทานอาหารปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วพยายามกำจัดอาหารที่เพิ่งกินเข้าไปด้วยการอาเจียน) โรคพิษสุราเรื้อรัง หรืออาการแพ้ท้อง โรคเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการอาเจียนบ่อยครั้ง ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารที่ออกมากับการอาเจียนเข้ามาทำลายชั้นเคลือบฟัน
4.ชั้นเคลือบฟันบางกว่าปกติตั้งแต่กำเนิด
ชั้นเคลือบฟันบางกว่าปกติ (Enamel hypoplasia) เป็นโรคที่ถูกถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ทำให้ขาดแร่ธาตุบางชนิดในการผลิตชั้นเคลือบฟัน ถ้าหากเราบังเอิญมีภาวะชั้นเคลือบฟันบางกว่าปกติ ฟันจะมีลักษณะใสจนโปร่งแสงร่วมกับฟันจะบางมาก ๆ
5.โรคเซลิแอค (Celiac Disease)
คือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองส่งผลให้ลำไส้เล็กมีการอักเสบไม่สามารถดูดซึมไขมัน วิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารได้เป็นปกติ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการในระบบทางเดินอาหารคือจะเกิดอาการท้องอืด ถ่ายเหลว และมีภาวะฟันใสร่วมด้วย
6.ปากแห้ง
ช่องปากที่มีสุขภาพดีจะมีปริมาณน้ำลายที่เหมาะสมไม่แห้งหรือเยอะเกินไป น้ำลายมีส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยต่อสู้กับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ ถ้าในช่องปากของเรามีน้ำลายน้อยจนเกินไป กรดจากอาหารรวมทั้งแบคทีเรียจะสามารถทำลายชั้นเคลือบฟันจนทำให้ฟันดูใสขึ้นกว่าปกติได้
ฟันใสทำไงดี?
แน่นอนว่าถ้าหากฟันใสมากกกจนน่าตกใจ สิ่งแรกที่ควรทำเลยก็คือการไปหาหมอฟัน แต่ถ้าหากฟันใสเล็กน้อย ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองเพื่อไม่ให้ชั้นเคลือบฟันถูกทำลายมากขึ้น ตามนี้เลย
- ดื่มน้ำสะอาดเพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปากแห้ง
- ลดการดื่มและรับประทานอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น กาแฟ โซดา
- ทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง
- ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง
- เสริมวิตามินจำพวกวิตามินดีและแคลเซียม หากได้รับไม่เพียงพอในแต่ละวัน
- ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
ถ้าหากเราพบว่าฟันของเราใส่ขึ้นกว่าปกติที่เคยเป็น นั่นก็แปลว่าชั้นเคลือบฟันของเราถูกทำลายไปแล้ว วิธีการรักษาที่ดีที่สุดก็คือการไปหาหมอฟันโดยด่วน คุณหมอแนะนำวิธีการรักษาให้เหมาะสมในแต่ละคน เช่น การทำบอนดิ้งอุดฟัน การรักษารากฟันหรือการทำวีเนียร์ ใครที่ไม่มั่นใจว่าฟันของเรามีสีใสผิดปกติหรือเปล่า แนะนำให้ไปตรวจสุขภาพฟันกับคุณหมอได้เลยค่ะ GoWabi ชี้เป้าดีลตรวจสุขภาพฟันกับคลินิกทันตกรรมชื่อดัง คลิกที่รูปภาพได้เลยยย
หากสาวๆสนใจบริการจาก คลินิกทันตกรรม ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น บริการ รีเทนเนอร์ ขูดหินปูน อุดฟัน วีเนียร์ เอกซเรย์ฟัน invisalign เลือกหาโปรโมชั่นดีๆจาก GoWabi ได้เลยค่ะ!!
อ้างอิง
https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/transparent-teeth#home-remedies