บทความนี้มีหัวข้ออะไรบ้าง

01/11/2023

นอนไม่หลับ insomnia คืออะไร ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

แชร์บทความนี้

สมาคมคนนอนไม่หลับมารวมตัวกันในบทความนี้ได้เลยค่ะ การนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ที่กว่าจะผ่านเรื่องราวในแต่ละวันไปได้ด้วยความยากลำบาก ทำให้พวกเราเกิดความเครียดสะสมและอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการนอนไม่หลับได้ พี่สาวอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับอาการนอนไม่หลับ  Insomnia คืออะไร สาเหตุที่ทำให้เกิดการนอนไม่หลับมีอะไรได้บ้าง และพฤติกรรมไหนเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ตามไปดูกันเลยค่ะ 

Insomnia คืออะไร

Insomnia คือ สภาวะที่มีความยากลำบากในการนอนหลับหรือนอนหลับได้น้อยลงกว่าปกติ คนที่มีปัญหา insomnia (อ่านว่า อิน-ซอม-นี-ยา) อาจจะมีปัญหาในการตื่นขึ้นมาระหว่างที่นอนหลับอยู่โดยไม่สามารถกลับไปนอนได้ หรือตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก่อนเวลาเวลาที่เราตื่นเป็นปกติมาก ๆ หรือปัญหาอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของการนอนหลับ

อาการ insomnia อาจทำให้คนรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีสมาธิ และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั่วไปได้ รวมถึงสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของคนที่ประสบกับปัญหานี้ อาการนอนไม่หลับอย่างเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นติดต่อกันภายในระยะเวลา 1 คืนหรือหลายสัปดาห์ ส่วนอาการนอนไม่หลับเรื้อรังมักจะเกิดขึ้นติดต่อกัน  3 คืนขึ้นไปจนถึง 3 เดือน

การนอนไม่หลับมีกี่ประเภท

ประเภทของ Insomnia แบ่งได้หลายแบบ แบบแรกแบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

  1. Primary Insomnia (อาการนอนไม่หลับปฐมภูมิ) เป็นอาการนอนไม่หลับที่ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับโรคต่าง ๆ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการนอนไม่หลับปฐมภูมิ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล jet lag การทำงานเป็นกะ เป็นต้น
  2. Secondary Insomnia (อาการนอนไม่หลับทุติยภูมิ) อาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับโรคบางอย่างที่เราเป็น เช่น โรคหอบหืด โรคซึมเศร้า โรคข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคกรดไหลย้อน ความเจ็บปวดบางอย่าง ผลข้างเคียงจากการทานยาบางชนิด หรือแม้แต่การดื่มแอลกอฮอล์

หรือบางครั้งก็อาจแบ่งประเภทของ Insomnia ได้จากอาการของโรคนอนไม่หลับก็ได้ เช่น

  1. Sleep-onset insomnia ใช้เวลานานกว่าที่จะนอนหลับ
  2. Sleep-maintenance insomnia นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืนหรือตื่นเช้ามากเกินปกติ
  3. Mixed insomnia มีปัญหาทั้งการใช้เวลานานกว่าที่จะนอนหลับและปัญหาหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นเช้าเกินไป
  4. Paradoxical insomnia นอนหลับได้แต่กลับรู้สึกเหมือนไม่ได้นอน ในกรณีนี้เราจะรู้สึกกว่าเรานอนหลับได้น้อยกว่าความเป็นจริง รู้สึกนอนไม่พอ

สาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ 

สาเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายนอก

  1. ความเครียด จากเหตุการณ์รอบตัวเรา การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในชีวิต การสูญเสียคนรัก การหย่าร้าง การย้ายบ้าน การย้ายงาน เป็นต้น
  2. สิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงรบกวนขณะนอนหลับ แสงรบกวน หรืออุณหภูมิไม่เหมาะสม
  3. การเปลี่ยนแปลงตารางนอน เช่น Jet lag การทำงานเป็นกะ 

สาเหตุจากปัจจัยภายใน

  1. ปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า อาการวิตกกังวล อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงในสารเคมีในสมอง ทำให้รู้สึกเหนื่อยและไม่ค่อยมีสมาธิในการทำกิจกรรมประจำวันและรบกวนการนอนหลับ
  2. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาควบคุมความดัน ยาโรคหอบหืด
  3. อาการเจ็บปวดบางอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างการนอน
  4. โรคไทรอยด์สูง และ โรคในระบบต่อมไร้ท่ออื่น ๆ
  5. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) สามารถทำให้นอนไม่หลับและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการนอนหลับ และ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (restless legs syndrome) สามารถทำให้นอนไม่หลับได้ เนื่องจากอาจต้องตื่นขึ้นมาเคลื่อนไหวขาเพื่อรู้สึกสบายตัว
  6. ตั้งท้อง เมื่อตั้งท้องอาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับ เช่น ท่านอนไม่สบาย
  7. โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยอาจเกิดความสับสนหรือรู้สึกไม่สบายในตอนกลางคืนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้
  8. โรคสมาธิสั้น (ADHD) อาจทำให้มีความยากลำบากในการควบคุมความสนใจและจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจมีผลกระทบต่อการนอนหลับของคนที่เป็น ADHD
  9. PMS เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนประสบก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น อารมณ์เสีย ความหงุดหงิด ความเครียด และอาการเจ็บปวดของขาหรือท้อง จนรบกวนการนอนหลับ

ปล่อยให้ตัวเองนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลานานส่งผลอย่างไร 

ร่างกายของเราต้องการการนอนหลับพักผ่อนเพื่อที่จะได้มีเวลาในการซ่อมแซมตัวเอง เป็นกระบวนการที่สำคัญในการเรียนรู้และการจดจำข้อมูลต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในวันหนึ่ง ๆ ถ้าหากเรามีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อร่างกายดังนี้ 

ปัญหาการนอนไม่หลับต่อสุขภาพร่างกาย

การนอนไม่หลับมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก การนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น การนอนไม่หลับยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นการนอนไม่หลับยังทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีความพร้อมในการออกกำลังกาย และส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเราได้

ปัญหาการนอนไม่หลับต่อสุขภาพจิต

การนอนไม่หลับสามารถทำให้ความเครียดและเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น เนื่องจากนอนไม่หลับทำให้เสียชสมดุลของสารเคมีในสมอง และส่งผลให้เรารู้สึกเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ

ปัญหาการนอนไม่หลับต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการเรียน

การนอนไม่หลับสามารถทำให้มีปัญหาในการทำงานและการเรียนรู้ เนื่องจากความจำและความสามารถในการตัดสินใจลดลง นอกจากนี้ยังทำให้ความสามารถในการลำดับความสำคัญของงานและการใช้วิจารณญาณในการแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพลดลงอีกด้วย

ปัญหาการนอนไม่หลับต่อสุขภาพทางสมอง

การนอนไม่หลับอาจทำให้ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงตรรกะลดลง และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจดจำและการสร้างความรู้ใหม่

ปัญหาการนอนไม่หลับต่อความปลอดภัยบนท้องถนน

การนอนไม่หลับสามารถทำให้การทำงานของสมองช้าลง และเพิ่มความเสี่ยงในการขับรถหรือทำงานที่ต้องใช้การตัดสินใจที่รวดเร็วในระดับเสี้ยววินาที มันอาจเป็นอันตรายไม่เพียงแต่สำหรับของเราเอง แต่ยังเป็นอันตรายต่อผู้อื่นอีกด้วย

Checklist ที่บอกว่าเราเริ่มมีอาการนอนไม่หลับแล้ว

9 เช็กลิสต์อาการนอนไม่หลับ
  • มีปัญหาในการนอนหลับตอนกลางคืน
  • ตื่นขึ้นมาหลายครั้งในระหว่างคืน
  • ตื่นขึ้นมาในช่วงเช้าจนเกินไป
  • ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่านอนไม่พอ
  • รู้สึกง่วงในช่วงเวลากลางวัน
  • อารมณ์อ่อนไหว หงุดหงิดง่าย มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล
  • มีความยากลำบากในการใช้สมาธิและการโฟกัส
  • มีปัญหาเรื่องความจำ
  • ความวิตกกังวลเวลาที่ต้องนอนหลับ

หากใครมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า 3 คืนจนถึง 3 เดือน แปลว่าเราอาจมีอาการของการนอนไม่หลับเรื้อรังแล้วค่ะ หากเมื่อใดที่เรารู้สึกว่าอาการเหล่านี้รบกวนการใช้ชีวิต ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอโดยด่วน! เนื่องจากการนอนไม่หลับเป็นสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุในชีวิตประจำวันได้ อันตรายมาก ๆ เลยค่ะ

หากรู้ตัวว่ามีอาการ insomnia ควรทำอย่างไร

เมื่อเริ่มมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันหลายวัน เราควรดูแลตัวเองด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการนอนหลับที่มีคุณภาพ ซึ่งเราสามารถทำได้ดังนี้

เข้านอนในเวลาเดียวกันทุกคืนและตื่นขึ้นในเวลาเดียวกันทุกเช้า หลีกเลี่ยงการทานของว่างในช่วงระหว่างวัน เพราะอาจทำให้รู้สึกนอนไม่หลับในตอนกลางคืนได้

หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์หรืออีบุ๊คก่อนนอน เครื่องมือเหล่านี้อาจทำให้นอนหลับยากขึ้นเนื่องจากแสงจากอุปกรณ์เหล่านี้

หลีกเลี่ยงคาเฟอีน นิโคติน และแอลกอฮอล์ในช่วงเย็น คาเฟอีนและนิโคตินเป็นตัวกระตุ้นและอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ แอลกอฮอล์อาจทำให้ตื่นขึ้นในช่วงกลางคืนและทำให้นอนไม่หลับ ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของการนอน

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลองหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใกล้เวลานอนหลับ เนื่องจากทำให้นอนหลับได้ยากมากขึ้นในบางคน

หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ในช่วงเย็น

ทำให้ห้องนอนมีความสบายให้มากที่สุดและมีบรรยากาศชวนง่วง มืด สงบ และไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป หากแสงคือปัญหา ลองใช้แผ่นปิดตาเพื่อนอน และที่อุดหูเพื่อปกปิดเสียง 

ผ่อนคลายก่อนนอนด้วยกิจกรรมเบา ๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรืออาบน้ำอุ่น

หากยังไม่สามารถหลับหรือรู้สึกง่าย ๆ และไม่รู้สึกง่วง ลองลุกขึ้นมาและทำบางสิ่งที่ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือจนรู้สึกง่วงไปเอง

เมื่อล้มตัวลงนอนแล้วหยุดกังวลเรื่องต่าง ๆ ไม่ได้ ลองสร้างรายการสิ่งที่ต้องทำก่อนนอน เพื่อเป็นการโฟกัสไปยังเรื่องอื่นและวางเรื่องที่เรากังวลเอาไว้ข้าง ๆ และลืมเรื่องที่ทำให้กังวลเหล่านี้ไป

อยากนอนให้หลับตอนนี้เดี๋ยวนี้ ชี้เป้าตามไปอ่านบทความนี้เลย แก้ปัญหาเฉพาะหน้า! เอาชนะ อาการนอนไม่หลับทำยังไง

การนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่ควรรับมือให้เร็วที่สุด เพราะมันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ หากเรามีปัญหานอนไม่หลับอยู่ ควรพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม สำหรับใครที่นอนไม่หลับและรู้ตัวว่าคืนนี้น่าจะหลับยากแน่ ๆ พี่สาวแนะนำกิจกรรมนวดที่บ้านเพื่อผ่อนคลายก่อนนอนจาก GoWabi เปิดให้บริการ 9.00น. – 23.00น. รับคิวสุดท้าย 22.00น. จองเลยยยย

อ้างอิง

https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-symptoms-and-causes

https://www.sleephealthsolutionsohio.com/blog/do-you-have-insomnia/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ปังแน่! 7 ยาย้อมผมสีแดง เลือกแบรนด์ไหนดี?

ปังแน่! 7 ยาย้อมผมสีแดง เลือกแบรนด์ไหนดี?

ใครกำลังอยากเปลี่ยนลุคให้แซ่บขึ้นแต่ยังคงความสวยคลาสสิกในแบบที่โดดเด่นสุด ๆ บอกเลยว่าการ ย้อมผมสีแดง คือคำตอบ! เพราะผมสีแดงมีทั้งความแพง ความเซ็กซี่ และยังช่วยขับผิวให้หน้าดูสว่างขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น แดงไวน์, แดงเบอร์กันดี, แดงสด, แดงอมส้ม หรือ แดงช็อกกิ้งพิงก์ ก็เรียกได้ว่าเป็นเฉดที่ปังตลอดกาล วันนี้เรารวมมาให้แล้วกับ 7 แบรนด์ยาย้อมผมสีแดง ที่เพื่อน ๆ ควรลอง พร้อมอธิบายแบบชัด ๆ ว่าแต่ละแบรนด์ให้สีแดงแบบไหน เหมาะกับใคร และแดงออกมายังไง มาดูกันเลย!

10 สีผมเบอริน่าหน้าสว่างสำหรับคนผิวสองสี ทำแล้วออร่าพุ่ง

10 สีผมเบอริน่า หน้าสว่าง ผิวสองสี ทำแล้วออร่าพุ่งแน่นอน

เพื่อน ๆ ที่มีผิวสองสีแล้วอยากทำสีผมให้ดูหน้าไบรท์ ขับผิวให้ดูมีออร่ามากขึ้น ฟังทางนี้! จริง ๆ แล้วโทนสีผมที่เหมาะกับผิวสองสีมีหลายเฉดมาก แต่ต้องเลือกให้แมทช์กับอันเดอร์โทนผิวถึงจะเกิดแบบไม่โป๊ะ และถ้ายิ่งใช้แบรนด์ที่ราคาเป็นมิตร คุณภาพแน่น อย่าง Berina ก็ยิ่งคุ้ม เพราะสีติดชัด ติดทน และมีเฉดให้เลือกเยอะมากกกก วันนี้เรารวมมาให้แล้วกับ 10 สีผมเบอริน่า หน้าสว่าง ผิวสองสี ที่ลองแล้วปังแน่นอน พร้อมไอเดียทรงผมที่ทำให้สีดูสวยยิ่งขึ้นด้วยนะ

ผมสวยไม่โป๊ะ! 7 สีผมน้ำตาลหม่นปิดหงอกสวย ๆ ที่ต้องลอง

ผมสวยไม่โป๊ะ! 7 น้ำตาลหม่นสีผมปิดหงอกสวย ๆ ที่ต้องลอง

สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังมองหาทางออกเรื่องผมหงอก แต่ยังอยากให้ลุคโดยรวมดูละมุน ดูแพง และดูไม่โป๊ะ สีโทนน้ำตาลหม่นคือตัวเลือกที่ตอบโจทย์สุด ๆ ในปีนี้ เพราะไม่เพียงแต่จะปิดผมหงอกได้เนียนกริบ แต่ยังช่วยให้ใบหน้าดูซอฟต์ สุภาพ และทันสมัย โดยเฉพาะเฉด “น้ำตาลหม่นสีผมปิดหงอกสวย ๆ” ที่กำลังมาแรงทั้งในหมู่สาวทำงาน และสายบิวตี้ที่อยากดูดีแบบเป็นธรรมชาติ วันนี้พี่สาวรวมมาให้ 7 เฉดที่ต้องลอง พร้อมแนะนำแบรนด์สีย้อมผมเด็ด ๆ ให้ไปตำตามกันได้เลย

Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.