นิ้วล็อกเป็นภาวะของความเจ็บปวดและไม่สบายบริเวณโคนนิ้ว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ ในคนที่เป็นนิ้วล็อกเส้นเอ็นบริเวณนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากการอักเสบหรือจากเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ซึ่งส่งผลให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวลำบากยากต่อการงอหรือคลายนิ้ว เอ….แล้วเราจะสามารถสังเกตอาการนิ้วล็อกได้อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้
5 สัญญาณเตือนอาการนิ้วล็อก

1.เจ็บบริเวณโคนนิ้ว
หากเริ่มมีความรู้สึกไม่สบาย ไม่มั่นใจที่จะเคลื่อนไหวนิ้วเพราะมีอาการเจ็บ เสียว บริเวณโคนนิ้วมือ ไม่ว่าจะรู้สึกกับนิ้วไหนก็ตาม นี่เป็นสัญญาณแรกของอาการนิ้วล็อกที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุด
2.ได้ยินเสียง “ก๊อก” เมื่อขยับนิ้ว
อาการนิ้วล็อกเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อได้ยินเสียง “ก๊อก” เวลาเราขยับนิ้วบ่อย ๆ อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อเราขยับนิ้ว ถ้าหากเมื่อไหร่ที่ได้ยินเสียง “ก๊อก” บ่อยขึ้นจนผิดสังเกต ร่างกายอาจจะกำลังพยายามบอกเราถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น
3.เริ่มติดขัดเวลางอนิ้ว
เคยไหมเวลาที่เรามีความรู้สึกว่าถ้าฉันงอนิ้ว นิ้วมันจะต้องล็อกแน่ ๆ เป็นความรู้สึกที่ไม่มั่นใจเมื่อต้องขยับนิ้วในการใช้งานต่าง ๆ และเวลาเราต้องงอนิ้ว นิ้วก็สะดุด งอได้ไม่สมูทอย่างที่คิด นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของอาการนิ้วล็อก
4.ขยับนิ้วได้ไม่สุด
เมื่อต้องการจะกางนิ้วหรืองอนิ้วก็ไม่สามารถทำได้ 100% เหมือนเมื่อก่อน ทำให้แรงกำ แรงจับ แรงบีบของเราลดลงด้วย ใครที่ต้องใช้มือเพื่อทำงานคงจะรำคาญไม่น้อย
5.พบก้อนที่โคนนิ้ว
สัญญาณนี้ค่อนข้างชัดเจน การพบก้อนนุ่ม ๆ แถวโคนนิ้วทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเห็นก้อนนี้มาก่อนบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเส้นเอ็น ยิ่งถ้าหากมีอาการอื่น ๆ ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ร่วมด้วยแล้วก็ยิ่งชัดเจนมาก ๆ เลยล่ะ
เอ…ว่าแต่นิ้วล็อกเกิดจากอะไรกันนะ อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลย นิ้วล็อก เกิดจากอะไร? ใครเสี่ยงบ้าง อาการแบบนี้ไปหาหมอได้หรือยัง
หากปล่อยให้นิ้วล็อกต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น?
ถ้าเป็นนิ้วล็อกแล้วไม่ได้รักษาจะเป็นอะไรไหม? นี่คือคำถามที่เพื่อน ๆ หลายคนคงจะแอบถามอยู่ในใจ เพราะอาจจะไม่มีเวลาไปหาหมอ หรือกลัวการผ่าตัด หรือเหตุผลใด ๆ ก็ตาม แต่ถ้าหากปล่อยเอาไว้แล้วละก็อาการนิ้วล็อกก็จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น
- มีอาการนิ้วล็อกกำเริบมากขึ้นในตอนเช้า
- มีอาการเจ็บเมื่อพยายามงอนิ้วหรือยืดนิ้ว
- นิ้วล็อกคลายด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องใช้มืออีกข้างนึงช่วยคลายออก
- เมื่อพยายามคลายนิ้วที่ล็อกจะได้ยินเสียงกึ๊ก
- เจ็บปวด บวม อักเสบ บริเวณฝ่ามือใต้นิ้วที่มีปัญหา
- พบก้อนนิ่ม ๆ บริเวณโคนของนิ้วที่มีปัญหา
ปลดล็อกอาการนิ้วล็อกด้วยท่าออกกำลังกายนิ้ว ชี้เป้าบทความดี ๆ 9 ท่าออกกำลังกายรักษานิ้วล็อกด้วยตัวเอง และ 6 วิธีจัดการปัญหานิ้วล็อค แก้ง่ายนิดเดียว
และแน่นอนหากปล่อยเอาไว้นาน ๆ อาการก็มีแต่จะยิ่งแย่ลงหากเราไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โดยระยะของอาการนิ้วล็อกมีทั้งหมด 4 ระยะ ลองดูเช็กดูได้เลยว่าเราอยู่ที่ระยะไหนแล้ว
- ระยะแรก มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ
- ระยะที่สอง เริ่มมีอาการสะดุดเวลาที่ต้องการงอนิ้ว ในระยะนี้ยังสามารถคลายนิ้วได้เอง
- ระยะที่สาม นิ้วล็อกจริงจัง เวลาต้องการกำ จับ หรืองอนิ้วจะล็อกโดยไม่สามารถเหยียดนิ้วออกมาได้เอง ต้องใช้อีกมือหนึ่งช่วยคลาย
- ระยะที่สี่ ไม่สามารถกำมือได้แน่นเหมือนเดิม พบข้อนิ้วผิดรูป
ถ้าหากปล่อยเอาไว้นานเข้า อาการนิ้วล็อกอาจพัฒนาจากระยะแรกเป็นระยะที่รุนแรงขึ้น หากอาการนิ้วล็อกไม่รุนแรงมากอาจหายได้ด้วยการพักการใช้งานนิ้วที่มีปัญหานั้นไปก่อน ทานยาลดอักเสบ หรือดามนิ้ว (splinting) เพื่อลดการใช้งานนิ้วนั้น ๆ ไปก่อน แต่ในกรณีที่เราเป็นหนักมาก ผ่านการรักษามาแล้วทุกแบบแต่ไม่ได้ผล คุณหมออาจจะพิจารณาทำการผ่าตัดให้ค่ะ อย่ารอให้ลุกลามแล้วค่อยรักษา หากสงสัยว่าเรามีอาการนิ้วล็อกอย่ารอช้า รีบเข้าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดีกว่า นี่เลยดีลจากคลินิกกายภาพบำบัดชื่อดัง คลิก

อ้างอิง
https://www.assh.org/handcare/blog/5-signs-you-have-trigger-finger