นิ้วล็อกอีกแล้ว ทำให้ใช้ชีวิตได้ไม่สะดวกเลย อาการนิ้วล็อกเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยมาก ๆ กับคนที่มีไลฟ์สไตล์ที่ต้องใช้งานมือหนักอย่างต่อเนื่อง เช่น การถือของหนัก ๆ เป็นเวลานาน การใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต อาการนิ้วล็อกที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ๆ เลยก็คือ ปวดนิ้ว นิ้วบวมตึง ข้อต่อนิ้วติดขัดขณะเหยียดหรืองอ ใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังเป็นนิ้วล็อกอยู่ ต้องอ่านบทความนี้เลย นิ้วล็อก เกิดจากอะไร ใครคือกลุ่มเสี่ยง อาการเจ็บป่วยแอบแฝงอะไรบ้างที่ทำให้เรามีโอกาสเป็นนิ้วเล็อกได้มากขึ้น ตามไปดูกันเลยยย
นิ้วล็อก เกิดจากอะไร?
นิ้วล็อก เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นจะทำให้เส้นเอ็นเกิดอาการบวม ส่งผลให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น มีความตึงและเจ็บปวด หากปล่อยเอาไว้นาน ๆ บริเวณที่มีการบวมเกิดขึ้นอาจกลายเป็นก้อนขึ้นมาได้ ก้อนจะขัดขวางไม่ให้นิ้วคลายตัวได้ตามปกติ ก้อนนี้นี่เองที่ทำให้นิ้วล็อกเมื่อเรางอนิ้ว
ใครเสี่ยงที่จะเป็นนิ้วล็อกบ้าง?
ถึงแม้ว่าจะยังไม่ไม่สามารถฟันธงได้ว่านิ้วล็อก เกิดจากอะไรกันแน่ แต่อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาและสังเกตเห็นว่าคนที่มักจะเป็นนิ้วล็อก ได้แก่
- ผู้หญิง นิ้วล็อกมักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- อยู่ในช่วงอายุ 40-50 ปี
- เคยได้รับบาดเจ็บที่มือมาก่อน หากเคยมีประวัติได้รับบาดเจ็บมาก่อน ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่โน้มนำทำให้เกิดนิ้วล็อกตามมาได้ง่ายขึ้น
และอาการนิ้วล็อกมักจะพบในผู้ที่มีโรคบางอย่างอีกด้วย ใครที่มีโรคประจำตัวดังนี้อาจพบอาการนิ้วล็อกได้มากกว่าคนสุขภาพปกติ
เบาหวาน ภาวะที่ทำให้ผู้ที่เป็นมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ
รูมาตอยด์ เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต้านตนเอง ทำให้มีอาการข้ออักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดความตึงและความเจ็บปวดที่ข้อเป็นระยะเวลานาน
เก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการข้ออักเสบจากการสะสมกรดยูริกที่ข้อ ส่งผลให้คนที่เป็นเกิดอาการข้อบวม เจ็บปวดแบบฉับพลัน
ไฮโปไทรอยด์ ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายต่ำเนื่องจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาน้อยกว่าปกติ
การกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (carpal tunnel syndrome) เกิดจากการใช้มืออย่างยาวนานและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดคล้าย ๆ ถูกหนามทิ่มแทง
อะไมลอยด์โดสิส (Amyloidosis) ภาวะที่ทำให้เกิดการสะสมโปรตีนอะไมลอยด์ในอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ระบบประสาท ทำให้การทำงานของอวัยวะนั้น ๆ ผิดปกติไป เป็นโรคหายากชนิดหนึ่ง
อาการที่บ่งบอกว่านี่ต้องเป็นนิ้วล็อกแน่ ๆ
ในช่วงแรกที่เราใช้งานนิ้วมืออย่างหนักอาจจะยังไม่แสดงอาการนิ้วล็อกออกมา อาการของนิ้วล็อกมักจะค่อย ๆ แสดงออกมาหลังจากการที่นิ้วมือถูกใช้งานอย่างหนักมากมาเป็นระยะเวลาหนึ่งโดยเฉพาะเมื่อทำท่ากำมือและท่าหยิบจับสิ่งของ และเมื่อปล่อยนานเข้า อาการนิ้วล็อกที่เราเริ่มสังเกตเองได้จะชัดเจนขึ้น เช่น
- พบก้อนนุ่ม ๆ ที่โคนนิ้ว
- เมื่องอนิ้วจะพบว่านิ้วล็อก
- เจ็บปวดเมื่องอนิ้วและเหยียดนิ้ว
อีกช่วงเวลาหนึ่งที่เรามักจะแสดงอาการนิ้วล็อกก็คือหลังตื่นนอน โดยความเจ็บปวดและจำนวนครั้งที่นิ้วล็อกมักจะเกิดมากขึ้น อาการนิ้วล็อกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกนิ้วหรือเกิดขึ้นกับหลายนิ้วในแต่ละครั้ง
จัดการนิ้วล็อกยังไงดี? อ่านนี่เลย 6 วิธีจัดการปัญหานิ้วล็อก แก้ง่ายนิดเดียว
เมื่อไหร่ที่ควรไปหาหมอได้แล้ว?
เมื่อเกิดอาการนิ้วล็อกจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เพียงเท่านี้ก็ควรไปหาคุณหมอได้แล้วล่ะ เพราะเราต้องใช้นิ้วมื้อในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ที่สำคัญมากมาย
แต่ถ้าหากเราพบว่าข้อต่อของนิ้วมีอาการบวม ร้อน แดง อักเสบ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าควรรีบไปหาหมอทันที นิ้วเราอาจเกิดการติดเชื้ออยู่ก็ได้ หากปล่อยเอาไว้การติดเชื้ออาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง
นิ้วล็อก เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณนิ้วมือจากการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้มีอาการเจ็บปวดและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างลำบากมากยิ่งขึ้น ใครที่กำลังมีอาการนิ้วล็อกขอบอกเลยว่าอย่ารอให้หายไปเอง มันยากมากถ้าเรายังทำพฤติกรรมเดิม ๆ อยู่ การไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดค่ะ นี่เลยย ดีลเด็ด ๆ โปรโมชั่นโดน ๆ จาก GoWabi จากคลินิกกายภาพชั้นนำ คลิก
อ้างอิง
https://www.nhs.uk/conditions/trigger-finger/causes/
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trigger-finger/symptoms-causes/syc-20365100